โลโก้เว็บไซต์ นักศึกษา มทร.ล้านนา พิษณุโลกร่วมกิจกรรมเรียนรู้กับบริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด   | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

นักศึกษา มทร.ล้านนา พิษณุโลกร่วมกิจกรรมเรียนรู้กับบริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 8 กุมภาพันธ์ 2561 โดย นางปภาดา พลอยอิ่ม จำนวนผู้เข้าชม 1551 คน

(1) ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 8 กุมภาพันธ์  2561  รศ.ดร.คมสัน  อำนวยสิทธิ รักษาราชการรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  พร้อมด้วย คณาจารย์ หลักสูตรพืชศาสตร์  หลักสูตรเครื่องจักรกลเกษตร  และนักศึกษา  ศึกษาเรียนรู้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด  โดย ดร. ทัตสัณฑ์ชัย ตรีสัตย์ที่ปรึกษากรรมการบริษัท  นำทีมงานมาดำเนินงาน ติดตั้งระบบน้ำหยดในแปลงอ้อยภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ตามโครงการพัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจการปลูกอ้อย ภายใต้การบันทึกข้อตกลง ระหว่าง บริษัทน้ำตาลพิษณุโลก จำกัด กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

          จากการลงนามบันทึกข้อตกลง(เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2560) ตามวัตถุประสงค์ มหาวิทยาลัยและบริษัทให้ความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อสร้างความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ   อันจะนำไปสู่ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ   การวิจัยและพัฒนา  และวิชาการสาขาอื่นๆ   ที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งคณาจารย์ และนักศึกษา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ  คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ได้ทำการประดิษฐ์ เครื่องฟาดใบอ้อย” และส่งมอบนวัตกรรมนี้ให้แก่ บริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จำกัด เมื่อเดือน พฤศจิกายน 2560 ที่ผ่านมา เพื่อนำการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม   ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมของบริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จำกัด   

          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก และ บริษัท น้ำตาลพิษณุโลก จำกัด ร่วมกัน ดำเนินงาน โครงการ พัฒนาเทคโนโลยีธุรกิจการปลูกอ้อย ในพื้นที่ แปลงสาธิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก จำนวน 20 ไร่  ซึ่งเป็นโครงการที่ร่วมกันพัฒนาและวิจัยการปลูกอ้อยแบบเต็มรูปแบบในเชิงธุรกิจ  จุดแข็งของโครงการนิมิตใหม่โมเดล  คือ ชุดปลูก 8 Cluster หรือ 8 กลุ่ม  Cluster ละ 6 คัน    สำหรับการเตรียมดินปลูก  6 ขั้นตอน ได้แก่ 1. ไถเปิดหน้าดิน   2. ไถระเบิดดาน   3.  ไถปิดหน้าดิน   4. โรตารี่ตีดิน   5. ฝังปุ๋ยมาร์คร่อง   6. ปลูกด้วยเครื่อง ซึ่งรถทั้งหมดมีกำลังมากกว่า 100 แรงม้า ทั้งนี้  เพื่อ ให้คณาจารย์  นักศึกษา    ชุมชน และเกษตรกร เข้ามามีส่วนร่วมแบบบูรณาการ  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเกษตรกรชาวไร่อ้อย และ เป็นการส่งเสริมสนับสนุนด้านการเรียนการสอน การฝึกอบรม เพื่อการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

  

ภาพ– อ.วิทยา พรหมพฤกษ์

ข่าว – ปภาดา พลอยอิ่ม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา