โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าสู่กลไกตลาดอย่างยั่งยืน ของ นางกัญญ์ณพัชญ์ พลเยี่ยม หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนอรุณทิพย์ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน  | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าสู่กลไกตลาดอย่างยั่งยืน ของ นางกัญญ์ณพัชญ์ พลเยี่ยม หัวหน้าโครงการ ร่วมกับ วิสาหกิจชุมชนอรุณทิพย์ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 27 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU นำโดย ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการวิสาหกิจชุมชนอรุณทิพย์ ตำบลผาสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดน่าน เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "โครงการกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ให้เข้าสู่กลไกตลาดอย่างยั่งยืน ของ นางกัญญ์ณพัชญ์ พลเยี่ยม อาจารย์สังกัดคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา น่าน หัวหน้าโครงการ"

โดยมี อาจารย์เจนจิรา ลานแก้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ชีวเคมี ผลิตภัณฑ์พืช สมุนไพร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา น่าน ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ นางกัญญ์ณพัชญ์ พลเยี่ยม (หัวหน้าโครงการ) ,ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.สิทธิบูรณ์ ศิริพรอัครชัย (ผู้ร่วมโครงการ),ผศ.ธัญทิพย์ ศิริพรอัครชัย (ผู้ร่วมโครงการ),นางสาวกมลทิพย์ ธารสว่างดำรงค์ (ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนอรุณทิย์)และนายวิรวิทย์ ธารสว่างดำรงค์ (ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอรุณทิย์) ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดโครงการและเพิ่มศักยภาพให้แก่สถานประกอบการด้วย อีกทั้งพาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการกระบวนการผลิต และแนะนำผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรจากตำราจีนโบราณและผสมผสานภูมิปัญญาไทย เป็นตำรับเฉพาะของกลุ่ม เช่น ยาหม่อง ยานวด ยาดมสมุนไพร ยาสีฟัน ภายใต้แบรนด์ “อรุณทิพย์” และ “พูคา” ที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช) มาตรฐานอาหารและยา (อย.) อีกด้วย

โดยนักวิจัยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและสำรวจโจทย์ความต้องการของวิสาหกิจชุมชน ที่ต้องการทราบกลุ่มเป้าหมายของผลิตภัณฑ์ รวมถึงทราบความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า โดยการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับขนาดบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์สมุนไพรระงับกลิ่นกาย ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการของผู้บริโภคเพื่อหากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง และการนำผลิตภัณฑ์ใหม่ออกสู่ตลาดให้เป็นที่รู้จัก ตลอดจนการวางแผนการตลาดเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้า ได้ในระยะยาวให้แก่สถานประกอบการ โดยได้มีการจัดทำ Business Model Canvas (BMC) การวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง (SWOT) และสร้างแผนกลยุทธ์ (Strategic plan) ที่เหมาะสมและตรงกับความต้องการให้แก่สถานประกอบการวิสาหกิจชุมชนและ ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการและมีการแนะนำให้มีการขอทุนต่อยอดในอนาคตอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา