โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการการศึกษาการปรับปรุงกลิ่นภายในฟาร์มด้วยกรดอินทรีย์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของเสียจากแพะ ของ นางสาวกัญญ์ฐญา จินต์ตนุวรกุล ร่วมกับ วิสาหกิจชุนชมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก

กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ลงพื้นที่ประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 โครงการการศึกษาการปรับปรุงกลิ่นภายในฟาร์มด้วยกรดอินทรีย์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของเสียจากแพะ ของ นางสาวกัญญ์ฐญา จินต์ตนุวรกุล ร่วมกับ วิสาหกิจชุนชมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 20 ธันวาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2566 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ได้ลงพื้นที่ ณ สถานประกอบการวิสาหกิจชุนชมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อประชุมประเมินตรวจติดตามโครงการ Pre-Talent Mobility ประจำปี 2566 และสำรวจโจทย์ความต้องการร่วมกับสถานประกอบการเพื่อต่อยอดงานวิจัย ณ สถานประกอบการ "การศึกษาการปรับปรุงกลิ่นภายในฟาร์มด้วยกรดอินทรีย์จากจุลินทรีย์ท้องถิ่นและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ของเสียจากแพะ ของ นางสาวกัญญ์ฐญา จินต์ตนุวรกุล อาจารย์สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร สาขา สัตวศาสตร์และประมง มทร.ล้านนา น่าน หัวหน้าโครงการ"

โดยมี  นายครรชิต เงินคำคง นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, การจัดการสิ่งแวดล้อมด้วยสาหร่ายหรือจุลินทรีย์ และการวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำดี น้ำเสีย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นคณะกรรมการประเมินโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ นางสาวกัญญ์ฐญา จินต์ตนุวรกุล (หัวหน้าโครงการ) และนายจีระศักดิ์ หิรัญพรรษ (ประธานวิสาหกิจชุนชมกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงแพะอำเภอชุมตาบง จังหวัดนครสวรรค์) ได้รายงานผลการดำเนินงานโครงการในที่ประชุม และร่วมหารือ แนวทางในการพัฒนาโครงการดังกล่าวเพื่อต่อยอดโครงการและเพิ่มศักยภาพให้แก่วิสาหกิจชุมชนด้วย

นักวิจัยได้เข้าไปศึกษาและวางแผนการดำเนินงานให้แก่วิสาหกิจชุมชนเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และมีส่วนช่วยในพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในการปรับปรุงกลิ่นภายในฟาร์ม (น้ำหมักหน่อกล้วย) และมีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้และพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อค้นหาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้แก่วิสาหกิจชุมชนเพื่อต่อยอดรายได้ให้แก่ชุมชน ทั้งนี้ยังได้มีการจัดอบรมการนำของเสียภายในฟาร์มมาใช้ประโยชน์ และวางแนวทางการต่อยอดผลิตภัณฑ์ให้แก่กลุ่มวิสาหกิจ พร้อมทั้งให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลี้ยงไส้เดือนเพื่อนำน้ำหมักมูลไส้เดือนมาใช้ประโยชน์ในเชิงเกษตรแก่ชุมชน ส่งผลให้ชุมชนมีความกระตือรือร้น และเสริมสร้างความสามัคคีอีกด้วย อีกทั้งสถานประกอบการได้พาเยี่ยมชมฟาร์มเลี้ยงแพะ และแนะนำวิถีการเลี้ยงแพะของชุมชน รวมทั้งแนะนำผลิตภัณฑ์ชุมชน เช่น สบู่นมแพะ โลชั่นนมแพะ ฯลฯ ทั้งนี้ได้มีการวางแผนการพัฒนาต่อยอดโครงการ และแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการและมีการแนะนำให้มีการขอทุนต่อยอดในอนาคตอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา