โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ศึกษาดูงาน การเข้าสู่การจัดอันดับ THE: World University Ranking ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา ศึกษาดูงาน การเข้าสู่การจัดอันดับ THE: World University Ranking ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 6 พฤศจิกายน 2566 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 สถาบันวิจัยและพัฒนา กลุ่มงานพัฒนานวัตกรรมและทรัพย์สินทางปัญญา เข้าร่วมการศึกษาดูงานเพื่อยกระดับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ระดับนานาชาติและจัดอันดับเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัย ภายใต้ “โครงการยกระดับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานวิจัยสู่ระดับนานาชาติและจัดอันดับเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัย แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งกระบวนการจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (ววน.)” ณ ห้องประชุมรวงผึ้ง ชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

 

โดย ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโรจน์ สินณรงค์ ผู้ช่วยอธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รองศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นายสมยศ มีสุข ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย สำนักวิจัยฯ นางจิรนันท์ เสนานาญ หัวหน้างานบริหารเงินทุนวิจัย สำนักวิจัยฯ นายวรุณสิริ สุจินดา นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษกองแผนงาน และนางสาวภัครัศ ยุทธวราชัย นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ กองแผนงาน ให้การต้อนรับและร่วมเปลี่ยนเรียนรู้ กลไกการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานการเผยแพร่ผลงานระดับนานาชาติ และการเข้าสู่การจัดอันดับเชิงวิชาการของมหาวิทยาลัยกลุ่ม 2 (Technology Development and Innovation) ระหว่าง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 

 

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยในโลกจาก Times Higher Education World University Rankings นั้นเป็นการจัดอันดับที่ได้รับการรับรองในระดับโลกและเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลที่ถูกใช้ในการประเมินคุณภาพของสถาบันทั่วโลก หลักในการจัดอันดับนั้นประกอบไปด้วยตัวชี้วัดที่มีประสิทธิผลที่ได้รับการปรับค่าให้เหมาะสม 13 ตัวชี้วัด โดยถูกจัดให้อยู่ใน5 หมวดหมู่ ได้แก่

  1. การเรียนการสอน (สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้)
  2. งานวิจัย (ปริมาณงานวิจัย รายได้และชื่อเสียง)
  3. การได้รับการอ้างอิง (อิทธิพลของงานวิจัย)
  4. การได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ (บุคลากร นักศึกษาและงานวิจัย) 
  5. รายได้จากอุตสาหกรรม (การถ่ายทอดความรู้)

แต่ละตัวชี้วัดมีส่วนร่วมในการนำไปคำนวณเป็นเปอร์เซ็นต์เพื่อกำหนดคะแนนของสถาบัน

 

โครงการดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองต่อพันธกิจของมหาวิทยาลัยฯ และการตระหนักถึงความสำคัญในการพัฒนาผลงานทางวิชาการ ด้วยการสร้างระบบและกลไกในการพัฒนาผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ ให้มีความพร้อมเข้าสู่การจัดอันดับ และเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งดำเนินงานโครงการ นำโดย ดร.ตะวัน วาทกิจ เป็นหัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพพร พัชรประกิติ รองศาสตราจารย์ ดร.พานิช อินต๊ะ และบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา บุคลากรหน่วยวิจัย RUEE เป็นผู้ร่วมโครงการ

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางและเป็นการเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าสู่การจัดอันดับThe Time Higher Education World University Rank (WUR) ในอนาคตต่อไป

 

 

 






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา