โลโก้เว็บไซต์ คณะวิทย์ฯ นำเสนอผลการดำเนินงาน โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing University ปีงบประมาณ 2565 | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา พิษณุโลก

คณะวิทย์ฯ นำเสนอผลการดำเนินงาน โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing University ปีงบประมาณ 2565

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 27 กรกฎาคม 2566 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 27 กรกฏาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉรา ดลวิทยาคุณ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร และบุคลากรร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงาน โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภายใต้โครงการปฏิรูปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาสู่การเป็น มหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและมหาวิทยาลัย ชั้นนำระดับสากลเพื่อชุมชน ณ ห้องประชุม อาคาร C3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดอยสะเก็ด

โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิสิษฐ์ วิมลธนสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผน นโยบาย และยุทธศาสตร์ กล่าวต้อนรับและนำเสนอการปฏิรูปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และมีการรายงานความก้าวหน้าโครงการปฏิรูปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชั้นนำระดับสากลเพื่อชุมชน รอบ 12 เดือน 4 เสาหลัก ได้แก่ เสาหลักที่ 1 การปฏิรูปการวิจัยและการบริการวิชาการ (USAIL) เสาหลักที่ 2 การปฏิรูปการพัฒนากำลังคน (EDU) เสาหลักที่ 3 การพัฒนาความสามารถของกำลังคนทั้งสายวิชาการและสาย สนับสนุน (HRD) เสาหลักที่ 4 การพัฒนา ปรับปรุง ยกเลิก กฎ ประกาศ ระเบียบ และ ข้อบังคับ (LaR)

ในการนี้คณะฯ ได้นำเสนอผลการดำเนินงาน ผลงานผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 โครงการได้แก่ 1)โครงการส่งเสริมทักษะบัณฑิตสู่การเป็นผู้ประกอบการด้านเกษตรและอาหาร ด้วยการประยุกต์ใช้เทคไนโลยีและนวัตกรรม ผ่าน ภูมิปัญญาห้องถิ่น เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สู่ BCG Modet 2)โครงการส่งเสริมเกษตรกร เพื่อสร้างสมรรถนะความเป็นผู้ประกอบการด้านธุรกิจเกษตรรายย่อย (Small scale Entrepreneur) (โครงการภายใต้ความร่วมมือกับสถานประกอบการ) และโครงการจากบุคลากรภายในคณะ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่
1)แหล่งเรียนรู้เกษตรดิจิทัลด้านการบริหารจัดการน้ำด้วยเทคโนโลยีไอโอทีพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับการเพาะปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน สู่การแปรรูปผลิตภัณฑ์และเพิ่มช่องทางจัดจำหน่ายในรูปแบบตลาดออนไลน์ โดยอาจารย์วรวิทย์ ฝั้นคำอ้าย อาจารย์สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ2)การพัฒนาผู้ประกอบการรายย่อยสู่การเรียนรู้เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อาหารสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ โดย ผศ.ดร.อรรณพ ทัศนอุดม อาจารย์สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

ขอบคุณภาพ นางสาวภาวิณี คำม่วง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา