โลโก้เว็บไซต์ หลักสูตรการอบรม

หลักสูตรการอบรม "เรียนรู้การสร้างร้านค้าออนไลน์ ด้วยเว็บไซต์สำเร็จรูปยอดนิยมขั้นเทพ"

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 2 มิถุนายน 2561 โดย นางปภาดา พลอยอิ่ม จำนวนผู้เข้าชม 1031 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 1 – 2 มิถุนายน  2561  ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  ร่วมกับ อ.มรกต  ทองพรหม  อ.ลัดดาวัลย์ หวังเจริญ และ อ.ปฏิกมล โพธิคามบำรุง  อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์   เป็นวิทยากรจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ  ในหัวข้อเรื่อง “เรียนรู้การสร้างร้านค้าออนไลน์ ด้วยเว็บไซต์สำเร็จรูปยอดนิยมขั้นเทพ”  โดยมีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมอบรมจำนวน 2 คน  ณ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์      ทั้งนี้  ผู้เข้ารับการอบรมจะได้ฝึกปฏิบัติจริง  ได้รับคำแนะนำและความรู้มากมาย   อาทิ   การทำการตลาดดิจิทัล  การวางแผนธุรกิจและการตลาดเพื่อให้ประสบความสำเร็จ  การเปิดร้านค้าออนไลน์กับ LnwShop   ระบบหน้าร้านและหลังร้านค้า  เข้าใจหลักการทำงานของ Search Engine    เตรียมตัวให้พร้อมสำหรับ Google mobile-first index    กลยุทธ์ในการเลือกคีย์เวิร์ดให้กับธุรกิจในการทำ SEO     LnwShop SEO  ทิปและเทคนิคในการทำให้ร้านค้าออนไลน์ LnwShop อยู่ในหน้าแรกของ Google    การซื้อบริการเสริมของ LnwShop เพื่อช่วยติดอาวุธ SEO และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้าของเรา      หลักการการเลือกคีย์เวิร์ดให้กับหน้าโฮมเพจ หน้าหมวดหมู่ และหน้าสินค้า  เป็นต้น    ซึ่งเมื่อจบหลักสูตรจะมีร้านค้าออนไลน์ที่สามารถใช้งานได้ตามความต้องการ

          การอบรมหลักสูตรครั้งนี้  ถือเป็นการเริ่มต้นของการจัดเก็บองค์ความรู้โดยมืออาชีพ ของฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  เพื่อเปิดการอบรมหลักสูตรต่างๆ  ที่นำองค์ความรู้ทางวิชาการของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยฯ  มาเผยแพร่มอบความรู้ให้กับ  นักเรียน นักศึกษาหรือประชาชนผู้สนใจ สามารถเข้าร่วมรับการฝึกอบรม ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับความรู้  และนำไปปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ในการดำเนินชีวิต ต่อไป

          ทั้งนี้  สามารถสอบถามข้อมูลการเปิดหลักสูตรฝึกอบรมได้ที่ ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  055-298-437-40  ต่อ  1120    

         

ภาพ/ข่าว - ปภาดา พลอยอิ่ม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon