โลโก้เว็บไซต์ คณะวิศวะ มทร.ล้านนา จับมือบริษัท Festo และ บริษัท คูก้า ประเทศไทย เปิด Hub the Trainer สร้างศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ผลิตกำลังคนเข้าสู่ EEC  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

คณะวิศวะ มทร.ล้านนา จับมือบริษัท Festo และ บริษัท คูก้า ประเทศไทย เปิด Hub the Trainer สร้างศูนย์กลางความเป็นเลิศด้านด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่ ผลิตกำลังคนเข้าสู่ EEC

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 23 พฤศจิกายน 2563 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 4664 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

             วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2563 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา โดย ดร.กิจจา ไชยทนุ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์  ลงนามความร่วมมือด้านการพัฒนากำลังคนเพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญด้านโรโบติก (Robotic) โดย Mr.Volker  Schmid  Director ASIA Pacific Fesco Didactic SE เป็นผู้แทนลงนามความร่วมือ ทั้งนี้มหาวิทยาลัยจะเป็นศูนย์กลางร่วมมือทางการฝึกอบรมของผู้เชี่ยวชาญทางด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่โรโบติก ทั้งนี้ ยังได้ลงนามความร่วมมือร่วมกับบริษัท คูก้า (ประเทศไทย) KUKA Thailand โดย นายทวิวัชร์ เรืองปัญญาโรจน์ ประธานกรรมการ เพื่อพัฒนาศูนย์การเรียนรู้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมในระดับมหาวิทยาลัยสนับสนุนการส่งเสริมอุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนความรู้รวมไปถึงการใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัย

             และโอกาสนี้คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้เป็นประธานเปิดโครงการความร่วมมือหลักสูตรการฝึกอบรม Train The Trainer for RMUT9 Campus 2020 เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติให้มีความเชี่ยวชาญ สามารถนำความรู้และทักษะนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยมีตัวแทนจากมหาวิทยาลัยกลุ่มราชมงคลทั้ง 9 แห่งและมหาวิทยาลัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรม จำนวน 130 คน  ณ อาคารคณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ดอยสะเก็ด

              ดร.กิจจา ไชยทนุ กล่าวว่า ความร่วมมือที่เกิดขึ้นในวันนี้สืบเนื่องจากโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ของมหาวิทยาลัยที่ได้ร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำ อีกทั้ง ความร่วมมือร่วมกับบริษัทเฟสโต้ในการสนับสนุนการเรียนการสอนด้านหุ่นยนต์เคลื่อนที่ จนมทร.ล้านนา ได้รับการยอมรับให้เป็นศูนย์กลางการผลิตบุคลากรด้านหุ่นยนต์เคลื่อน จึงได้เกิดโครงการในวันนี้ขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญให้มีการพัฒนาขั้นสูงและสามารถถ่ายทอดและส่งต่อบุคลากรเข้าสู่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 มุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ 3 จังหวัดในภาคตะวันออก ได้แก่ ระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทราเพื่อเป็นการยกระดับ ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา