โลโก้เว็บไซต์ คณะทำงานโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดลำปาง | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

คณะทำงานโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ คณะวิทยาศาสตร์ฯ ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้า เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดลำปาง

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 18 มีนาคม 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 4023 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2563 รศ.ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา พร้อมด้วย ดร. ปิยมาสฐ์  ตัณฑ์เจริญรัตน์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง ผศ.จรูญ สินทวีวรกุล ผู้อำนวยการกองการศึกษา มทร.ล้านนา ลำปาง และนายชำนาญ ใจช่วย หัวหน้าประมงอำเภอเมืองลำปาง ร่วมการประชุมสรุปการดำเนินงานและลงพื้นที่ตรวจติดตามผลการดำเนินโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Non-degree) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร ของกลุ่มเกษตรกรสมาชิกในโครงการ จังหวัดลำปาง เพื่อประเมินศักยภาพ ความก้าวหน้า และรับฟังปัญหาตลอดจนให้คำแนะนำทางด้านวิชาการอันจะทำให้เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการประสบผลสัมฤธิ์ตามเป้าหมาย สามารถผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดบัณฑิตพันธุ์ใหม่ และต่อยอดเป็นศูนย์การเรียนรู้ทางด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้กับชุมชน 
     โดยมีอาจารย์เรืองพันธุ์ ทรัพย์มี อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง หัวหน้าโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ หลักสูตรประกาศนียบัตรการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ พร้อมด้วยอาจารย์สมเกียรติ ตันตา อาจารย์ประจำหลักสูตรสัตวศาสตร์และประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มทร.ล้านนา ลำปาง ให้การต้อนรับและนำคณะทำงานลงพื้นที่ สำหรับกลุ่มเกษตรกรที่คณะทำงานได้ลงพื้นที่ติดตามประกอบด้วย
1.นางบุปผา หมดดี ต.บ้านขอ อ.เมืองปาน
2.นางรุ่งนภา เต็มเมือง ต.บ้านเอื้อม อ.เมืองลำปาง
3.นายทศพล บุญดิเรก อ.เมืองลำปาง
4. นายนพคล วงค์อ๊อด อ.เมืองลำปาง
และ 5.นายวิรัตน์ จันทร์อ่อน อ.เมืองลำปาง
     โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ในส่วนของมทร.ล้านนา ดำเนินโครงการในสองรูปแบบได้แก่แบบมีปริญญา (degree) และแบบไม่มีใบปริญญา (Non-degree) เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะและ ศักยภาพสูง สำหรับการทำงานใน  อุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New Growth Engines) และผลิตกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในการเรียนรู้ การบริหารจัดการและบูรณาการเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา