โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา ผสานความร่วมมือภาคเอกชนพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เพิ่มศักยภาพบัณฑิตนักปฏิบัติ  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา ผสานความร่วมมือภาคเอกชนพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน เพิ่มศักยภาพบัณฑิตนักปฏิบัติ

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 20 ตุลาคม 2566 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2398 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

       วันที่ 19 ตุลาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ลงนามความร่วมมือ การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีประหยัดพลังงานร่วมกับ บริษัท ไทย ทาซากิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด โดย นายภวเกียรติ กีรติชีวนันท์ กรรมการผู้จัดการ  เพื่อร่วมกันเป็นภาคีเครือข่ายพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และบุคลากรของบริษัท ไทย ทาซากิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ให้มีคุณวุฒิด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาปัตยกรรม วิทยาศาสตร์ประยุกต์ และบริหารธุรกิจ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการบริการวิชาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และองค์ความรู้ในส่วนของภาคการศึกษาที่เกี่ยวข้องเพื่อเป้าหมายในการ ร่วมกันพัฒนานักศึกษาไปสู่การเป็น “บัณฑิตนักปฏิบัติมืออาชีพที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐาน” ส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนา นวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และเทคโนโลยีประหยัดพลังงานร่วมกันเพื่อประโยชน์สาธารณะความมั่นคงของประเทศ และด้านการศึกษา โดยความร่วมมือนี้ จะดำเนินการร่วมกันเป็นระยะเวลา 5 ปี

          บริษัท ไทย ทาซากิ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดใช้ในครัวเรือน อีกทั้งยังเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน ซึ่งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสถาบันการศึกษาที่จัดการเรียนการสอนตอบสนองความต้องการในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดพลังงานและเทคโนโลยีดิจิตอล โดยความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อภาคการศึกษาที่จะบูรณาการองค์ความรู้ และเทคโนโลยีประหยัดพลังงานกับการเรียนการสอน และการปฏิบัติงานจริง รวมถึง ภาคธุรกิจที่จะได้ร่วมพัฒนาบุคลากรของตนเองให้มีศักยภาพ มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ  เพิ่มมากยิ่งขึ้น

 

 


คลังรูปภาพ : 19-10-66






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon