เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 26 กันยายน 2566 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 953 คน
เมื่อวันที่ 21-22 กันยายน 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน ซึ่งเป็นคณะกรรมการดำเนินงานในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในระยะเริ่มต้นการทำธุรกิจ ประจำพื้นที่ภาคเหนือ หรือ AgTechAI 2023 นำโดย อาจารย์ขนิษฐา หอมจันทร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย ทีมผู้ประสานงาน คณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร นำคณะภาคีเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจฯ AgTech AI Consortium 2023 เยี่ยมชมศูนย์บ่มเพาะเครือข่ายภาคเหนือ ประกอบไปด้วย ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาการผลิตกัญชาเพื่อการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อการผลิตเตาเผาถ่านโดยใช้เทคโนโลยี IoT ศูนย์วนเกษตร-พฤกษเภสัช น่าน และ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เห็ดน่านมั่นคง
ในการนี้ (22 ก.ย.66) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นงนุช เกตุ้ย รองคณบดีคณะวิทยาสาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร กล่าวแนะนำที่มาของโครงการฯ และแนะนำภาคีเครือข่าย 5 ภูมิภาค ประกอบด้วย 1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เครือข่ายภาคเหนือ 2.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครือข่ายภาคใต้ 4.มหาวิทยาลัยบูรพา เครือข่ายภาคตะวันออก 5.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เครือข่ายภาคกลาง และ 6. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) หรือ NIA ผู้ให้การสนับสนุนโครงการ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ มงคลเทพ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร มทร.ล้านนา น่าน ให้การต้อนรับและแนะนำนักวิจัย นำเสนอแผนงานภายใต้ อว. ส่วนหน้า ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบ และได้รับเกียรติจากคุณสิรพัฒน์ ชนะกุล นักส่งเสริมนวัตกรรมอาวุโส สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ให้ข้อมูลเรื่อง กลไกการสนับสนุนธุรกิจนวัตกรรม และเสวนาแลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AgTech AI Consortium) ที่จะส่งเสริมให้เกิดระบบนิเวศนวัตกรรมเทคโนโลยีเชิงลึกด้านปัญญาประดิษฐ์ที่แก้ปัญหาภาคการเกษตรของประเทศ พร้อมทั้งได้มีการนำเสนอผลงานจาก 3 ทีม ผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งอยู่ในส่วน มทร.ล้านนา น่าน (เครือข่ายภาคเหนือ) เป็นผู้รับผิดชอบ ณ ห้องประชุมชมพูภูคา มทร.ล้านนา น่าน
รูปภาพกิจกรรมเพิ่มเติม : คลิก
ขอขอบคุณภาพ / ข่าว : อาจารย์ขนิษฐา หอมจันทร์
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา