โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา และ ธ.ออมสิน จัดกิจกรรมนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2566 เฟ้นหาสุดยอดทีมเข้าร่วมประกวดรางวัล Best of the Best ระดับประเทศ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา และ ธ.ออมสิน จัดกิจกรรมนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ปี 2566 เฟ้นหาสุดยอดทีมเข้าร่วมประกวดรางวัล Best of the Best ระดับประเทศ

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 13 กันยายน 2566 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 5348 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

 

วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน และธนาคารออมสินภาค 8 จัดกิจกรรมนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อเป็นเวที Show Case ของทีมนักศึกษานำเสนอผลสัมฤทธิ์จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ในรูปแบบออนไชต์ ณ ห้องประชุมศรีนคร โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์    Facebook Page ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา  โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการจาก 3 ฝ่าย เข้าร่วมให้คะแนนผลการดำเนินงานให้แก่นักศึกษา ได้แก่ ตัวแทนธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ตัวแทนธนาคารออมสินภาค 8 และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อคัดเลือกตัวแทนทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ( The Best ) ในโอกาสนี้ ทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลผลงานการพัฒนาดีเด่น ได้แก่ ทีมฟินน์ (Finn) และได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการประกวดในระดับประเทศเพื่อรับรางวัล Best of the Best โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ต่อไป  

 

สรุปผลรางวัลการนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา ปี 2566  ดังนี้

  1. รางวัลชนะเลิศ The Best ได้รับโลห์เชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 4,000 บาท
    ได้แก่
    • ทีมฟินน์ (Finn) วิสาหกิจชุมชนตำบลเขื่อนผาก (น้ำพริกน้ำปูผงสำเร็จรูป)
  2. รางวัลดีเด่น Excellent ได้รับโลห์เชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
    ได้แก่
    • ทีม Hottie คิดนอกกรอบ กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงฮอด (ผ้าทอกะเหรี่ยงฮอด)
    • ทีมอรรถรส (At Tha Road) ชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนือ (ท่องเที่ยวชุมชน)
  3. รางวัลชมเชย Appreciate ได้รับโลห์เชิดชูเกียรติ และเงินรางวัล จำนวน 1,000 บาท
    ได้แก่
    • ทีม Soft Power Team ศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดงบ้านดอนเปา) (ท่องเที่ยวชุมชน)
    • ทีมสะเกี้ยงมินิคอฟฟี่ (Sakiang Mini Coffee) วิสาหกิจชุมชนกาแฟแปลงใหญ่ไทยลั๊วะหก บ้านบนขุนน่าน (แชมพูกาแฟอราบิก้า)
    • ทีมนักศึกษาร่วมพัฒนาพาแอ่ว ชุมชนเทศบาลตำบลป่าเมี่ยง (ท่องเที่ยวชุมชน)
  4. รางวัล Popular Vote การจัดนิทรรศการนำเสนอผลการดำเนินงาน ได้รับเงินรางวัล จำนวน 1,000 บาท
    ได้แก่
    • ทีม Soft Power Team ศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดงบ้านดอนเปา) (ท่องเที่ยวชุมชน)

 

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นักศึกษาบูรณาการภูมิปัญญา และวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันการศึกษา กับภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น สร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มชุมชน สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำบัญชีต้นทุนของสินค้าหรือบริการ เพื่อกำหนดราคาได้อย่างถูกต้อง  โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมไปถ่ายทอดสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์  ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ (Hands-On University) “ครูได้สอน นักศึกษาได้ฝึก สังคม ชุมชนได้ประโยชน์”  

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหว่างธนาคารออมสิน กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน 2560 เริ่มได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคารออมสินในปี 2561 และได้ดำเนินโครงการร่วมกันเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน 

 

ในกิจกรรมนำเสนอครั้งนี้ ประกอยด้วย คณะกรรมการจาก 3 ฝ่ายเข้าร่วมให้คะแนนผลการดำเนินงานให้แก่นักศึกษา ได้แก่

  1. ตัวแทนธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ (Online) ได้แก่
    1. คุณวิลานี แซ่แต้ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อย และองค์กรชุมชน 
    2. คุณจรรยพร อนันตพรรค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน
  2. ตัวแทนธนาคารออมสินภาค 8 (Onsite) ได้แก่
    1. คุณวิไลพร พราหมณะนันทน์ ผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตเชียงใหม่ 2
    2. คุณภัคธินันท์ กิตติวรเสนีย์ ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    3. คุณนคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีวรรณ ราชสม รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ทีมนักศึกษาเข้าร่วมการนำเสนอผลสัมฤทธิ์จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่

  1. ทีมสะเกี้ยงมินิคอฟฟี่ (Sakiang Mini Coffee) วิสาหกิจชุมชนกาแฟแปลงใหญ่ไทยลั๊วะหก บ้านบนขุนน่าน (แชมพูกาแฟอราบิก้า)
  2. ทีมอรรถรส (At Tha Road) ชุมชนท่องเที่ยวทากาศเหนือ (ท่องเที่ยวชุมชน)
  3. ทีม Soft Power Team ศูนย์หัตถกรรมร่มโบราณ (จ้องแดงบ้านดอนเปา) (ท่องเที่ยวชุมชน)
  4. ทีมนักศึกษาร่วมพัฒนาพาแอ่ว ชุมชนเทศบาลตำบลป่าเมี่ยง (ท่องเที่ยวชุมชน)
  5. ทีม Hottie คิดนอกกรอบ กลุ่มผ้าทอกะเหรี่ยงฮอด (ผ้าทอกะเหรี่ยงฮอด)
  6. ทีมฟินน์ (Finn) วิสาหกิจชุมชนตำบลเขื่อนผาก (น้ำพริกน้ำปูผงสำเร็จรูป)

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon