เผยแพร่เมื่อ : พุธ 13 กันยายน 2566 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 5350 คน
วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2566 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับ ฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน และธนาคารออมสินภาค 8 จัดกิจกรรมนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 เพื่อเป็นเวที Show Case ของทีมนักศึกษานำเสนอผลสัมฤทธิ์จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ในรูปแบบออนไชต์ ณ ห้องประชุมศรีนคร โรงแรมคุ้มภูคำ เชียงใหม่ และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Meeting พร้อมถ่ายทอดสดผ่านระบบออนไลน์ Facebook Page ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี มทร.ล้านนา เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วยคณะกรรมการจาก 3 ฝ่าย เข้าร่วมให้คะแนนผลการดำเนินงานให้แก่นักศึกษา ได้แก่ ตัวแทนธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ตัวแทนธนาคารออมสินภาค 8 และตัวแทนจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อคัดเลือกตัวแทนทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ( The Best ) ในโอกาสนี้ ทีมนักศึกษาที่ได้รับรางวัลผลงานการพัฒนาดีเด่น ได้แก่ ทีมฟินน์ (Finn) และได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการประกวดในระดับประเทศเพื่อรับรางวัล Best of the Best โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ต่อไป
สรุปผลรางวัลการนำเสนอผลสัมฤทธิ์โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น มทร.ล้านนา ปี 2566 ดังนี้
โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่ส่งเสริมให้นักศึกษาบูรณาการภูมิปัญญา และวิทยาการสมัยใหม่ของสถาบันการศึกษา กับภูมิปัญญาและทรัพยากรท้องถิ่น สร้างกระบวนการในการเสริมสร้างและพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการประกอบการของกลุ่มชุมชน สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการให้มีศักยภาพ มีมูลค่าเพิ่ม สามารถยกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด รวมทั้งส่งเสริมให้ชุมชนจัดทำบัญชีต้นทุนของสินค้าหรือบริการ เพื่อกำหนดราคาได้อย่างถูกต้อง โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาให้คำแนะนำในการนำองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมไปถ่ายทอดสู่ชุมชนให้เกิดประโยชน์ ตอบสนองยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยนักปฏิบัติ (Hands-On University) “ครูได้สอน นักศึกษาได้ฝึก สังคม ชุมชนได้ประโยชน์”
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ระหว่างธนาคารออมสิน กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตั้งแต่ 20 พฤศจิกายน 2560 เริ่มได้รับทุนสนับสนุนจากธนาคารออมสินในปี 2561 และได้ดำเนินโครงการร่วมกันเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
ในกิจกรรมนำเสนอครั้งนี้ ประกอยด้วย คณะกรรมการจาก 3 ฝ่ายเข้าร่วมให้คะแนนผลการดำเนินงานให้แก่นักศึกษา ได้แก่
ทีมนักศึกษาเข้าร่วมการนำเสนอผลสัมฤทธิ์จากการเข้าไปพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับชุมชน จำนวน 6 กลุ่ม ได้แก่
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
มทร.ล้านนา จับมือ ธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
มทร.ล้านนาจับมือธนาคารออมสิน ดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา