โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก ขับเคลื่อน โครงการส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง ภายใต้กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินกิจกรรมปลูกสมุนไพร ณ บ้านใหม่ร่องกล้า  ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา พิษณุโลก ขับเคลื่อน โครงการส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง ภายใต้กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินกิจกรรมปลูกสมุนไพร ณ บ้านใหม่ร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 19 สิงหาคม 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 284 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 19 สิงหาคม 2566 อ.บุญฤทธิ์  สโมสร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก นำคณาจารย์
เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ดำเนินกิจกรรมโครงการจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง ภายใต้กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี มทร.ล้านนา ร่วมกับจิตอาสา 904 นำโดย รศ.เดชา  นาวานุเคราะห์ หัวหน้าจิตอาสา 904 จังหวัดพิษณุโลก (ผู้ช่วยอธิการบดี มทร.ล้านนา) ประสานความร่วมกันระหว่างหน่วยงาน เครือข่ายภาคี ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก, สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์กลุ่มจังหวัดให้บริการ SMEs ครบวงจร ภาคเหนือตอนล่าง, อบต.บ้านกร่าง, อบต.เนินเพิ่ม วิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรทับยายเชียง, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร, เครือข่ายการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมระบบชุมชนรับรอง RL-PGS และประชาชนบ้านใหม่ร่องกล้า จำนวน 100 คน ร่วมกันปลูกสมุนไพร และบำรุงรักษาต้นซากุระญี่ปุ่น  เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและยกระดับการสร้างรายได้และการบริการท่องเที่ยว และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเป็นจุดดึงดูดแก่นักท่องเที่ยว สามารถสร้างงาน สร้างความเป็นอยู่ที่ดี สร้างเศรษฐกิจกับชุมชนอย่างทั่วถึง และอย่างยั่งยืนต่อไป

     จากนั้นได้ร่วมกันช่วยพัฒนาแปลงปลูก รดน้ำพรวนดิน กำจัดวัชพืช ตัดหญ้า ปรับสภาพบริเวณพื้นที่สำหรับเรียนรู้ อีกทั้งยังให้ความรู้แก่ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อปลูกจิตสำนึกให้ช่วยกันดูแลรักษา ส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง และส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งประกอบอาชีพของคนในชุมชน ณ บ้านใหม่ร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา