โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก ขับเคลื่อน โครงการส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง ภายใต้กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินกิจกรรมจัดสร้างแปลงสมุนไพรสามัญประจำชุมชนและสร้างงานในชุมชนประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน ณ บ้านใหม่ร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก  | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา พิษณุโลก ขับเคลื่อน โครงการส่งเสริมการสร้างจิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อคนพื้นที่สูง ภายใต้กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินกิจกรรมจัดสร้างแปลงสมุนไพรสามัญประจำชุมชนและสร้างงานในชุมชนประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน ณ บ้านใหม่ร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 6 สิงหาคม 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 233 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

     วันที่ 5 สิงหาคม 66 นายบุญฤทธิ์ สโมสร ผู้อำนวยการสำนักงานบริหาร มทร.ล้านนา พิษณุโลก และผู้ช่วยศาสตราจารย์กฤษดา กาวีวงศ์ โดยดำเนินร่วมกับคณาจารย์ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ บูรณาการร่วมกันระหว่าง 3 คณะ ได้แก่คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ขับเคลื่อนดำเนินกิจกรรมจัดสร้างแปลงสมุนไพรเพื่อดูแลสุขภาวะสามัญประจำชุมชนและสร้างงานให้ประชาชนในชุมชนได้ประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ บ้านใหม่ร่องกล้า ต.เนินเพิ่ม อ.นครไทย จ.พิษณุโลก สามารถเลี้ยงดูตนเองได้ เป็นแหล่งอาหาร แหล่งเรียนรู้ แหล่งจ้างงาน และแหล่งท่องเที่ยว ภายในชุมชน เพื่อให้สมาชิกฯ มีงานทำ มีรายได้เลี้ยงครอบครัว ได้เรียนรู้การปลูกสมุนไพรอย่างถูกหลักวิชาการ และรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพในลักษณะการรวมกลุ่มทำงาน การพัฒนาแปรรูปผลผลิตตลอดจนดำเนินงานตามแนวทาง ”ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นการสร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ชุมชน อย่างต่อเนื่องและยั่งยืนต่อไป

     กิจกรรมดังกล่าวเป็นการผนึกพลังความร่วมมือกันของทุกภาคส่วน สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดพิษณุโลก, สมาคมสหพันธ์ท่องเที่ยวภาคเหนือจังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์กลุ่มจังหวัดให้บริการ SME ภาคเหนือตอนล่าง 1 จังหวัดพิษณุโลก, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร, วิสาหกิจชุมชนปลูกและแปรรูปสมุนไพรทับยายเชียง, อบต.บ้านกร่าง, อบต.เนินเพิ่ม และเครือข่ายการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมระบบชุมชนรับรอง RL-PGS







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา