โลโก้เว็บไซต์ กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อค้นหาโจทย์วิจัยร่วมกับ  มทร.ล้านนา พิษณุโลก ภายใต้โครงการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Chang Agent) ด้วยกลไก (New Academic Staff) โดยใช้พื้นที่โครงการหลวงและโครงการพระราชดำริเป็นรากฐานในการพัฒนา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

กลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมี ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อค้นหาโจทย์วิจัยร่วมกับ มทร.ล้านนา พิษณุโลก ภายใต้โครงการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Chang Agent) ด้วยกลไก (New Academic Staff) โดยใช้พื้นที่โครงการหลวงและโครงการพระราชดำริเป็นรากฐานในการพัฒนา

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 23 มิถุนายน 2566 โดย วรรธนพงศ์ เทียนนิมิต จำนวนผู้เข้าชม 797 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดี มทร.ล้านนา เป็นประธานกล่าวเปิดงานพร้อมให้คำแนะนำแนวทางการขับเคลื่อน สร้างความรู้ ความเข้าใจ กำหนดทิศทางการดำเนินงาน การสร้างงานวิจัย และขยายผลต่อยอด ตามเป้าหมายการขับเคลื่อนเพื่อกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัย และการสร้างนวัตกรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสในการเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากนี้ยังเป็นช่องทางการขยายผล ต่อยอดผลงานทางวิชาการสู่การนำไปใช้ประโยชน์ในวงกว้างแก่คณาจารย์ บุคลากร นักวิจัย และนักศึกษาต่อไป โดยคุณสุทินา พึ่งทอง ผู้อำนวยการกองการศึกษา มทร.ล้านนาพิษณุโลก กล่าวให้การต้อนรับ จากนั้นผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร์ เมืองใจ ผู้ช่วยอธิการบดี หัวหน้าแผนงานใต้ร่มพระบารมี นำเสนอนโยบายแนวทางการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ใต้ร่มพระบารมี มทร.ล้านนา แนวทางและแผนการพัฒนากลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ รวมถึงร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แนวทางการพัฒนางาน เพื่อศึกษา วิเคราะห์หาแนวทางเชิงออกแบบ และระดมหาแนวคิดใหม่ๆ เพื่อแก้ไขโจทย์ปัญหาที่แท้จริง และตรงต่อความต้องการของชุมชน โดยใช้กระบวนการสังเคราะห์หาโจทย์วิจัยในพื้นที่ เพื่อจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย/โครงการบริการวิชาการของบประมาณจากแหล่งทุนภายในและภายนอก

          อีกทั้งคณะทำงานกลุ่มแผนงานใต้ร่มพระบารมีได้นำเสนอระบบจัดเก็บและเผยแพร่ฐานข้อมูลสารสนเทศ การรับข้อเสนอโครงการ การติดตามประเมินผลโครงการ หนังสือองค์ความรู้ ข่าวสารกิจกรรมและสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนคณาจารย์ บุคลากร นักวิจัย และผู้ที่สนใจ สามารถนำข้อมูลใช้ในการกลั่นกรองง่ายต่อการค้นหาใช้ ลดความยุ่งยากและซ้ำซ้อนในการรายงานผลการดำเนินงานและสามารถใช้เป็นเครื่องมือสำหรับการวางแผน การพัฒนาพื้นที่ชุมชน เพื่อให้สอดรับกับความต้องการของชุมชนและสอดคล้องกับการพัฒนาอย่างมีทิศทางและยั่งยืน โดยการเรียนรู้สู่การแก้ไขปัญหา อีกทั้งยังเกิดเวทีสังเคราะห์ปัญหาจากนักวิจัยที่มีประสบการณ์ โดยการเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ การลงพื้นที่ การมีส่วนร่วมและร่วมแลกเปลี่ยนการบูรณาการระหว่าง คณะ เขตพื้นที่หน่วยงาน และชุมชน ช่วยกันระดมค้นหาโจทย์ประเด็น ปัญหา รวมกับวิธีการแก้ไขเพื่อเติมเต็มแนวคิดในการทำงานวิจัยร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ณ ห้อง 1423 อาคารวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon