เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 27 เมษายน 2566 โดย รัตนาภรณ์ สารภี จำนวนผู้เข้าชม 1034 คน
วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ.2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ดำเนินการจัดเวทีการนำเสนอโครงการย่อย (Proposal) โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา เป็นประธานเปิดกิจกรรม และผู้ช่วยศาสตราจารย์ เกรียงไกร ธารพรศรีผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้กล่าวรายงาน โดยมีทีมนักศึกษาเข้าร่วมการนำเสนอโครงการย่อย จำนวน 6 ทีม พร้อมเชิญชวนผู้สนใจร่วมรับฟังการนำเสนอโครงการย่อยของนักศึกษา โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2566 ในรูปแบบ On-site ณ ห้อง ศศ.201 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และ ผ่านระบบ Online ผ่านระบบ Zoom Meeting ตั้งแต่เวลา 08.30 น. ถึง 16.30 น. โดยมีบุคลากรกลุ่มงานผลิตสื่อและจัดการองค์ความรู้ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ร่วมปฏิบัติงานสนับสนุนการถ่ายทอดสัญญาณผ่านสื่อออนไลน์ (ถ่ายทอดสด) ตลอดการจัดกิจกรรม
โดยได้รับเกียรติจาก คุณวิลานี แซ่แต้ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ บรรยายและชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น พร้อมด้วย ผู้บริหารจากธนาคารออมสิน จำนวน 4 ท่าน ได้แก่ คุณภัคธินันท์ กิตติวรเสนีย์ ผู้จัดการธนาคารออมสินสาขามหาวิทยาลัยเชียงใหม่คุณนคร สุวรรณกาศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 คุณณิศากร บุญสงค์ หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน ภาค 8 คุณอารีรัตน์ ไชยแก้วเมร์ หน่วยพัฒนาสังคมและชุมชน ภาค 8 และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีวรรณ ราชสม รองผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นคณะกรรมการซักถาม และให้ข้อเสนอแนะ ตลอดจนบรรยายและชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ
โดยมีทีมนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอโครงการย่อย จำนวน 6 ทีม ดังนี้
กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากธนาคารออมสิน เพื่อให้นักศึกษาดำเนินการลงพื้นที่เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ และเทคโนโลยีไปสู่ชุมชน ยกระดับผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับ ตลอดจนเป็นการช่วยเหลือชุมชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างประสบการณ์ในการทำงาน ส่งเสริมศักยภาพของนักศึกษาให้สามารถทำงานเป็นทีมได้ โดยมี อาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มคอยช่วยเหลือแนะนำนักศึกษาตลอดการดำเนินการ
ในโอกาสนี้ ดร.ศิรประภา ชัยเนตร ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชิญชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร่วมตอบแบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment – EIT) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร ได้แก่ บุคคล, นิติบุคคล, บริษัทเอกชนหรือหน่วยงานรัฐ ผู้มาติดต่อหรือผู้มารับบริการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เพื่อเป็นการสำรวจความคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการนำไปปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยต่อไป โดยเข้าไปตอบแบบวัดการรับรู้ดังกล่าวผ่านลิงก์ https://itas.nacc.go.th/go/eit/yu18im หรือ Scan QR Code ที่ปรากฏบนหน้าจอ ( ภาพที่ 6 )
ข้อมูล กลุ่มงานส่งเสริมบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน
เรียบเรียง รัตนาภรณ์ สารภี
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา