โลโก้เว็บไซต์ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ มทร.ล้านนา ได้รับรางวัลพระราชทานประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ มทร.ล้านนา ได้รับรางวัลพระราชทานประเภทรางวัลผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2566

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 9 มีนาคม 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2887 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

   รองศาสตราจารย์ ดร.พานิช อินต๊ะ หัวหน้าหน่วยวิจัยสนามไฟฟ้าประยุกต์ในงานวิศวกรรม วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาจั ณ อีเว้นท์ ฮอลล์ 100-102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 จากผลงาน “เครื่องทดสอบแผ่นกรองอัตโนมัติที่ใช้ตัวนับอนุภาคแบบไฟฟ้าสถิตสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากากอนามัยและหน้ากาก 95/KN95/KF94/FFP” โดยได้รับการสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมจาก ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยผ่านการดำเนินงานของฝ่ายการใช้ประโยชน์นวัตกรรมเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ศลช. ซึ่ง ได้รับความสนใจจากทางภาคเอกชนที่มีผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาค นำไปสู่การใช้งานจริงในหลายพื้นที่ของประเทศ ได้แก่ จ.ลำพูน จ.พระนครศรี อยุทธยา จ.สมุทรสาคร จ.ระยอง และ จ.ปทุมธานี

สำหรับเครื่องเครื่องทดสอบแผ่นกรองอัตโนมัติที่ใช้ตัวนับอนุภาคแบบไฟฟ้าสถิตสำหรับการทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของหน้ากากอนามัยและหน้ากาก 95/KN95/KF94/FFP” ได้พัฒนาเครื่องทดสอบตัวกรองอัตโนมัติที่ใช้ตัวนับอนุภาคแบบไฟฟ้าสถิตในการหาค่าการผ่านทะลุหรือประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของแผ่นกรองหน้ากากชนิดต่างๆสำหรับการป้องกันฝุ่น PM2.5 และโควิด-19 ต้นแบบของเครื่องทดสอบตัวกรองอัตโนมัติ สร้างขึ้นตามวิธีทดสอบของมาตรฐาน มอก. 2424-2562 และ มอก. 2480-2562 ต้นแบบเครื่องทดสอบตัวกรองที่จะพัฒนาขึ้นประกอบด้วยแหล่งกำเนิดอนุภาคละอองลอย ตัวทำให้อนุภาคเป็นกลาง ตัวทำความร้อนอากาศ ถังผสม ห้องทดสอบ ตัวนับจำนวนอนุภาค ตัววัดความดันแตกต่าง ตัวอัดอากาศ ตัววัดอัตราการไหล และชุดประมวลผลและแสดงผลการทดสอบ ในเครื่องทดสอบตัวกรองที่พัฒนาขึ้นสามารถสร้างอนุภาค PSL, NaCl, Emery Oil และ DEHS ในช่วงขนาดอนุภาค 0.1 – 2.5 ไมครอน ที่ความเข้มข้นเชิงจำนวนตั้งแต่ 1 - 20,000 particles/cm3 ซึ่งครอบคลุมการทดสอบหน้ากากอนามัยทางการแพทย์และหน้ากากกรองอากาศชนิดต่างๆสำหรับงานการป้องกันฝุ่น PM2.5 และโควิด-19 โดยเครื่องทดสอบตัวกรองที่พัฒนาขึ้นได้รับการออกแบบมาให้ทำงานที่อัตราการไหลของอนุภาคทดสอบที่ประมาณ 5 ถึง 100 L/min ที่ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคสูงถึง 99.99% ในการวิจัยนี้ได้เปรียบเทียบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคจากเครื่องทดสอบตัวกรองที่พัฒนาขึ้นกับผลที่ได้จากเครื่องทดสอบตัวกรองมาตรฐานเพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้อง เหมาะสำหรับในการทดสอบประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของแผ่นกรองหน้ากากชนิดต่างๆสำหรับการป้องกันฝุ่น PM2.5 และโควิด-19

(ภาพ/ข้อมูล : วทส.มทร.ล้านนา)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon