โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐาน ด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ปี 2565 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมรากฐาน ด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ปี 2565

เผยแพร่เมื่อ : พุธ 21 กันยายน 2565 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 3591 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 20 กันยายน 2565 สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานราก ด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ปี 2565 ณ สถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เพื่อขับเคลื่อนงานวิชาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยในการขับเคลื่อนงานบริการวิชาการตามพันธกิจของมหาวิทยาลัยการให้บริการที่มุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของมหาวิทยาลัยด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดี มทร.ล้านนา เป็นประธานเปิดโครงการ และผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ม.มทร.ล้านนา เป็นผู้กล่าวกล่าวรายงานการจัดโครงการ  
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาการอธิการบดี มทร.ล้านนา กล่าวว่า " ในนามของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ขอขอบคุณภาคีเครือข่าย มูลนิธิโครงการหลวง ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ธนาคารออมสิน สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมซนเมือง แห่งชาติ สาขา 1, 2 และ 3 เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล เครือข่ายกองหมู่บ้าน ที่ได้มีส่วนร่วม ในการเสริมสร้างและพัฒนา สังคม ชุมชนท้องถิ่น ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระดับฐานราก โดยการนำองค์ความรู้และนวัตกรรม มาพัฒนายกระดับคุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือบริการในท้องถิ่น ให้ตอบสนองความต้องการของตลาด สร้างความมั่นคงในอาชีพ และรายได้อย่างยั่งยืน ซึ่งตรงกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยๆ ในการผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ และการยกระดับสังคม ชุมชน ท้องถิ่นอย่างยั่งยืน โดยทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้ร่วมลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือกับทาง เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลในครั้งนี้ ซึ่งนับว่าเป็นการ ช่วยกันส่งเสริมองค์ความรู้ที่มีอยู่ของทั้งสองฝ่าย ในการพัฒนาสังคมชุมชน ซึ่งมหาวิทยาลัยมีการจัดการเรียนการสอน 4 คณะ 1 วิทยาลัย ประกอบด้วย คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจและ ศิลปะศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ทคโนโลยีเกษตร คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ ยังได้จัดพื้นที่การศึกษาทั้ง - จังหวัด คือ เชียงราย เชียงใหม่ลำปาง ตาก น่าน และพิษณุโลก โดยมีสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ที่เป็นหน่วยงานที่ขับเคลื่อนงานด้านบริการวิชาการ และนับว่าเป็นโอกาสอันดีที่จะได้ร่วมมือในการส่งเสริมเกื้อหนุนกัน พัฒนาองค์ความรู้และข้อมูลงานบริการวิชาการ สนับสนุนการดำเนินงานให้เกิดความก้าวหน้า ตลอดจนการร่วมจัดกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีในอนาคต และขอแสดงความยินดีกับบุคลากรของมหาวิทยาลัยที่ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ที่มีจิตอาสา และส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยและสังคมชุมชนท้องถิ่นในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ กระผมขอขอบคุณผู้เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามครั้งนี้แขกผู้มีเกียรติรวมถึงสื่อมวลชนที่เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น และขอให้งานในวันนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่ได้วางไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่านจะได้รับความรู้จากการนำเสนอผลงานการดำเนินงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากด้วยเศรษฐกิจ BCG เพื่อนำกลับไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน และชีวิตประจำวัน และขอให้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ดังที่คาดหวังทุกประการบัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอเปิดกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากด้วยเศรษฐกิจ BCG มหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ปี 2565"
(คลิกชมภาพกจิกรรมเพิ่มเติม)







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon