โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา รับเสด็จ  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และถวายรายงานผลการดำเนินโครงการ | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา รับเสด็จ  สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และถวายรายงานผลการดำเนินโครงการ

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 15 กุมภาพันธ์ 2565 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 3309 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

    วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา นำคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน รองศาสตราจารย์ ดร.มาลี ตั้งระเบียบ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร พร้อมด้วยคณาจารย์และบุคลากร  เฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และถวายรายงานผลการสนองงานของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ณ ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ตำบลโป่งผา อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีผลการดำเนินงานประจำปี 2563-2564 ตามโครงการที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณและมีพระราชานุมัติให้ดำเนินการ จำนวน 4 โครงการดังนี้

โครงการที่ 1 การพัฒนาพันธุ์ และรักษาพันธุ์พืชผัก และพืชอาหาร 13 ชนิด ประกอบด้วยพริก มะเขือเทศ มะเขือเปราะ แตงกวา ถั่วฝักยาว ถั่วไร้ค้าง คะน้า กวางตุ้ง บวบเหลี่ยม ฟักทอง ข้าวโพดเทียนหวาน มะระขี้นก ถั่วเหลือง และดำเนินการส่งข้อมูลเพื่อขึ้นทะเบียนพันธุ์ พริกขี้หนูสวน เบอร์ 1(แจ้ห่ม) พร้อมทั้งยังได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย

  • พริกขี้หนูสวน คัดเลือกพันธุ์ รุ่นที่ 9 และรุ่นที่ 10 ให้ผลผลิตสูง ได้พันธุ์เบอร์ 1 (แจ้ห่ม) และพริกขี้นก เบอร์ 7
  • พริกขี้หนูใหญ่ คัดเลือกพันธุ์ รุ่นที่ 10 ให้ผลผลิตสูง ผลดก ค่อนข้างทนทานต่อโรคแอนแทรคโนสได้พันธุ์เบอร์ 2 เบอร์ 5 และเบอร์ 6 พริกใหญ่
  • พริก
  • หนุ่มเขียว คัดเลือกรุ่นที่ 8 และรุ่นที่ 9 ให้ผลผลิตสูง ฝักตรงเนื้อหนา สีเขียว ดก น้ำหนักผลดี ได้เบอร์ 2 เบอร์ 3  เบอร์ 6
  • มะเขือเปราะ คัดเลือกรุ่นที่ 8 และ 9 ได้ เบอร์ 1 (สำหรับประกอบอาหาร) เบอร์ 3 (สำหรับทานผลสด) เบอร์  4 และ 5 (สำหรับทานผลสดและประกอบอาหาร) 
  • แตงกวาผลสั้น ปลูกทดสอบเปรียบเทียบกับพันธุ์การค้า
  • ถั่วฝักยาว คัดเลือกลักษณะใหม่เพิ่มเติมรุ่นที่ 2 และ 3 ได้ถั่วฝักยาว เบอร์ 2 ฝักยาว เมล็ดน้อย
  • กวางตุ้ง คัดเลือกกวางตุ้งใบ รุ่นที่ 2 และ 3 ได้ กวางตุ้งใบ เบอร์ 7 ผลผลิตสูง ต้นอวบใหญ่ เก็บเกี่ยวเมล็ดพันธุ์เร็ว
  • ฟักทอง คัดเลือกฟักทองผลใหญ่ ได้จำนวน 9  เบอร์

โครงการที่ 2 การผลิตเมล็ดผัก ประจำปี 2563-2564 ดำเนินการผลิตเมล็ดพันธุ์ประจำปี 2564 จำนวน 8 ชนิดพืชได้แก่มะเขือเทศจักรพันธ์ 1 มะเขือเทศจักรพันธ์ 2 พริกขี้หนูสวน ฟักทองประกายดาวล้านนา คะน้า ถั่วฝักยาวล้านนาชวนอร่อย แตงกวาผลสั้น และแตงกวาผลยาว

โครงการที่ 3 การบริหารจัดการควบคุมศัตรูพืชอย่างปลอดภัยในศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มีการดำเนินงานสนับสนุนการผลิตสารสกัดจากพืชกำจัดโรคและแมลง สารชีวภัณฑ์เชื้อรากำจัดแมลง บิวเวอร์เรีย บาเซียนา เมตาไรเซียม เอนิโซเพล่ และนวัตกรรมการผลิตเชื้อราผสมระหว่างเชื้อรากำจัดแมลงและเชื้อรากำจัดโรคพืช โดยผลิตในรูปแบบน้ำที่ใช้งานง่าย สะดวก มีสิ่งช่วยเสริมประสิทธิภาพในการควบคุมโรคและแมลงได้ดีขึ้นและทนทานต่อสภาพแวดล้อมซึ่งทางศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ยังไม่มีเครื่องมือเพียงพอสำหรับการผลิตในรูปแบบนี้ นอกจากนี้ยังมีการผลิตเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส อะไมโลลิเควฟาเซียน ป้องกันกำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้เพียงพอในการใช้งาน อีกทั้งให้คำแนะนำการใช้สารชีวภัณฑ์กำจัดโรคและแมลงให้ได้ผลดีในการควบคุม รวมทั้งให้คำปรึกษาด้านห้องปฏิบัติการการผลิตชีวภัณฑ์ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

โครงการที่ 4 การผลิตแตงกวาผลสั้นแตงกวาผลยาวมะเขือเทศจักรพันธ์ 1 และมัคคุเทศก์จักรพันธ์ 2 ผลสดทั้งปี ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ

  • แตงกวา มีแผนการส่งผลผลิตทั้งหมด 1,800 กิโลกรัม/ปี โดยสามารถส่งผลผลิตได้รวม 3,033.2 กิโลกรัม
  • มะเขือเทศ มีแผนการส่งผลผลิตทั้งหมด 1,800 กิโลกรัม/ปี โดยสามารถส่งผลผลิตได้รวม 2,420.4 กิโลกรัม

    นับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ร่วมแรงร่วมพลังสานต่อพันธกิจ ของศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ เรื่อยมา โดยมีคือภารกิจหลักคือ
1. การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืช
2. การทดสอบความเสถียรของพันธุ์พืช
3. การผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพื้นเมืองพันธุ์ดี
4. การผลิตต้นกล้าไม้ผลพื้นเมือง
5. การผลิตพืชผลสด
6. การบริหารจัดการควบคุมศัตรูพืชอย่างปลอดภัยภายในศูนย์ และชุมชนเครือข่าย
    การดำเนินการทำให้เกิดพันธุ์ใหม่ๆ หลากหลายสายพันธุ์และยังสามารถอนุรักษ์พันธุ์พืชพื้นบ้านที่เกือบสูญหาย สามารถศึกษาองค์ความรู้ใหม่จากการพัฒนาพันธุ์พืชคณาจารย์ได้พัฒนาองค์ความรู้และความสามารถทางวิชาการ นักศึกษาได้รับการพัฒนาความรู้จากการฝึกปฏิบัติจริง Social Lab เกิดการบูรณาการการทำงานระหว่างคณะต่างๆอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon