โลโก้เว็บไซต์ คณะบริหารฯ จัดกิจกรรม STEAM4INNOVATOR'LAB เฟ้นหาสุดยอดนักนวัตกร | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

คณะบริหารฯ จัดกิจกรรม STEAM4INNOVATOR'LAB เฟ้นหาสุดยอดนักนวัตกร

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 8 กันยายน 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

            เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการจัดการแข่งขันทักษะการนำเสนอโครงการ (Proposal) ภายใต้โครงการผู้สร้างนวัตกรอย่างเข้มข้น STEAM4INNOVATOR TRAINERS’ LAB คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ณ ห้องบัวระวง อาคารเฉลิมพระเกียรติ 56 พรรษา โดยกิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฟ้นหาสุดยอดนักนวัตกร ที่จะเข้าร่วมการนำเสนอโครงการ (Proposal) ในระดับประเทศต่อไปโดยมีนักศึกษานวัตกร นำนวัตกรรมที่ผ่านการคัดเลือกจาก 6 เขตพื้นที่เข้าร่วมการนำเสนอโครงการ (Proposal) จำนวนทั้งสิ้น 12 ชิ้นงาน ซึ่งผลการแข่งขันดังนี้

          รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ทีม Sunshine จาก คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ พื้นที่ เชียงราย สมาชิกประกอบด้วย นางสาวพิมชฎาพร ขันใจ นางสาวภาสินี ใจมา นางสาวน้ำฝน พุทธบุรี โดยอาจารย์ชนนพร ยะใจมั่น เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม  

          รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ทีมได้แก่ Green D จากคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ พื้นที่ น่าน สมาชิกประกอบด้วย นายณัฐพล ขาวดีเดช นางสาวจิรประภา นุแปงถา นายชนุตร มินาลิน โดยอาจารย์พรลภัส วิชาเป็นอาจารย์ผู้ควบคุม

          รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ ทีมรสหอม จาก คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ พื้นที่ เชียงใหม่ สมาชิกประกอบด้วย นางสาวศิริลภัสสร เปาวะ นายชนินทรักษ์ แซ่ฉั่ว นางสาวศศิประภา ไชยสมภาร โดยอาจารย์บงกช ศิลปานนท์เป็นอาจารย์ผู้ควบคุม

         สำหรับโครงการผู้สร้างนวัตกรอย่างเข้มข้น STEAM4INNOVATOR TRAINERS’ LAB เป็นกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งแบ่งเป็น 4 กิจกรรม ดังนี้   กิจกรรมที่ 1 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ The Trainers’ Workshop (วิทยากรจาก NIA)  กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ The Trainers’ Workshop by แกนนำ (ขยายผล 15 - 20 คน) ภายในเขตพื้นที่  กิจกรรมที่ 3 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ The Trainers’ Sandbox By Coach: Phase 1 อบรมขยายผลเยาวชน 30 คน เพื่อพัฒนาข้อเสนอโครงการ (Proposal) ผลงานนวัตกรรมต้นแบบ 2 ชิ้นงาน ของคณะในแต่ละพื้นที่  กิจกรรมที่ 4 การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ The Trainers’ Sandbox By Coach Phase 2 แข่งขันทักษะนำเสนอโครงการ (Proposal) ผลงานนวัตกรรม 12 ชิ้นงาน จาก 6 พื้นที่







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา