โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา   จับมือร่วม สพม.ลำปาง ลำพูน หน่วยงานและองค์กร ร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา | คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา จับมือร่วม สพม.ลำปาง ลำพูน หน่วยงานและองค์กร ร่วมพัฒนาคุณภาพการศึกษา

เผยแพร่เมื่อ : เสาร์ 16 มีนาคม 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 647 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

           วันที่ 15 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมลงนามความร่วมมือยกระดับเครือข่ายความร่วมมือเพื่อจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน “เชื่อมต่อทุกโอกาส สร้างสังคมอนาคตอย่างยั่งยืน” ภายใต้โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้อัตลักษณ์วิถีบูรณาการการจัดการเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตและทักษะอาชีพของผู้เรียน ที่สนองต่อนโยบายและจุดเน้น ของกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมี หน่วยงานและองค์กร เข้าร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงด้านวิชาการ ในครั้ง จำนวน 13 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยธนบุรี วิทยาเขตภาคเหนือ จังหวัดลำพูน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี นครลำปาง วิทยาลัยเทคนิคลำพูน วิทยาลัยการอาชีพป่าซาง วิทยาลัยการอาชีพบ้านโฮ่ง องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูนองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ  ศูนย์การศึกษาเกาหลีประจำประเทศไทย และ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ โอกาสนี้ นายสันติธร ยิ้มละมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน เป็นประธาน และร่วมลงนามในฐานะพยาน สำหรับการ MOU ครั้งนี้ ณ หอประชุมดาราดิเรก จักรคำคณาทร 119 ปี โรงเรียนจักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน

           สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน ดำเนินการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานและภาคีเครือข่ายในด้านวิชาการ และด้านมาตรการรักษาความปลอดภัยในสถานที่ราชการ  ส่งเสริม ดูแลช่วยเหลือให้โรงเรียนในสังกัดทุกโรงเรียนมีแนวทางการพัฒนาที่สอดคล้องกับสภาพบริบทของตนเองให้ครอบคลุมพื้นที่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน อย่างต่อเนื่อง

 

 

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา