โลโก้เว็บไซต์ ITAP กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอน วินิจฉัยปัญหาเทคนิคกลุ่มปลูกถั่วลายเสือ พร้อมให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

ITAP กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอน วินิจฉัยปัญหาเทคนิคกลุ่มปลูกถั่วลายเสือ พร้อมให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 23 มิถุนายน 2568 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ITAP กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ลงพื้นที่แม่ฮ่องสอน วินิจฉัยปัญหา (Preliminaries Analysis) เทคนิคกลุ่มปลูกถั่วลายเสือ พร้อมให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา

ระหว่างวันที่ 22–23 มิถุนายน 2568 กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในฐานะเครือข่ายดำเนินงาน โครงการโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) ได้จัดกิจกรรมวินิจฉัยปัญหาทางเทคนิคในเบื้องต้น และสำรวจความต้องการของสถานประกอบการ ณ กลุ่มส่งเสริมอาชีพปลูกถั่วลายเสือบ้านกุงไม้สัก อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

กิจกรรมในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก นางสาวรัชนีวรรณ  สันลาด อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในฐานะนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ ร่วมพูดคุยและวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มอาชีพ พร้อมทั้งลงพื้นที่จริงเพื่อทำความเข้าใจกับสภาพการผลิตและความต้องการของชุมชนอย่างลึกซึ้ง

ระหว่างการเข้าเยี่ยมชม (Site visit) ทีมงานได้หารือแนวทางการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มฯ โดยเน้นไปที่การพัฒนา เครื่องมือหรือเทคโนโลยี ที่จะช่วยปรับปรุงกระบวนการปลูกถั่วลายเสือให้สะดวกและทุ่นแรงมากขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการจริงของชุมชน

นอกจากนี้ กลุ่มงานยังได้เชิญ นางสาวอารีวัณย์ อรุณสิทธิ์ นักบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี มทร.ล้านนา ร่วมให้คำปรึกษาเบื้องต้น แนะนำและให้ข้อคิดเห็นในประเด็นด้าน ทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดผลงานและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของทั้งมหาวิทยาลัยและชุมชนในอนาคต

กิจกรรมครั้งนี้เป็นอีกหนึ่งบทบาทสำคัญของกลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU ในการขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนและสถานประกอบการ เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบโจทย์ความต้องการของท้องถิ่น และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน

 

“จากความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างมหาวิทยาลัยและชุมชน จะช่วยผลักดันงานวิจัย นวัตกรรม และเทคโนโลยีให้เกิดผลจริง และสร้างคุณค่าร่วมกันได้อย่างเป็นรูปธรรม”

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา