เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 20 กุมภาพันธ์ 2568 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2 คน
วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ล้านนา ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วย “การใช้เทคโนโลยี ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตการเกษตรไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์” ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยเน้นไปที่ไม้ดอกไม้ประดับและพืชอัตลักษณ์ สนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถแข่งขันได้ในตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีนายวีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยเป็นตัวแทนร่วมลงนามความร่วมมือครั้งนี้
ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการบูรณาการการทำงานร่วมกัน ระหว่าง วว. และ มทร.ล้านนา ตามยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและสังคมให้เติบโตอย่างยั่งยืนพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมให้เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างผลิตภัณฑ์เกษตรที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ไม้ดอกไม้ประดับ เทคโนโลยีชีวภาพ อาหาร และเวชสำอางไทยเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ และส่งเสริมการตลาดของผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขึ้นให้เป็นที่รู้จักทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้เกิดการสร้างรายได้คืนสู่การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและชุมชนพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัย การบริหารจัดการองค์ความรู้ และการพัฒนากำลังคนด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืนร่วมกันส่งเสริมการเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติให้กับนิสิต/นักศึกษา ผ่านการใช้ห้องปฏิบัติการ การทำวิจัย และการฝึกงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผลักดันให้ผลงานวิจัยและบริการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถต่อยอดสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและยกระดับมาตรฐานงานวิจัยไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากลการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเกษตรไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคต โดย ภายในระยะเวลา 2 ปี ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพันธุ์พืช กระบวนการปลูกเลี้ยง และการใช้ประโยชน์จากพืชเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น อาหารเสริม เครื่องสำอาง และเวชสำอาง นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ภาคอุตสาหกรรมและชุมชน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจการเกษตรของไทย
ขอบคุณภาพจาก สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)
คลังรูปภาพ : 20-02-68
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา