โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา หารือความร่วมมือด้านวิชาการ เทคโนโลยีสะอาด และพลังงานทดแทน ระบบรางรถไฟฟ้าร่วมประเทศแคนาดา | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา หารือความร่วมมือด้านวิชาการ เทคโนโลยีสะอาด และพลังงานทดแทน ระบบรางรถไฟฟ้าร่วมประเทศแคนาดา

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 6 พฤษภาคม 2565 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

          วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ให้การต้อนรับ H.E. Ambassador Dr.Sarah Taylor (ดร.ซาราห์ เทย์เลอร์) เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทยและคณะ ในโอกาสที่เข้ามาเยี่ยมชมมหาวิทยาลัย หารือแนวทางความร่วมมือ และแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านของเทคโนโลยีสะอาด และพลังงานทดแทน ระบบรางรถไฟฟ้า และSmart Farming พร้อมทั้งการสานต่อความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในแคนาดาด้านศิลปะ และสร้างความร่วมมือทางวิชาการในด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเกษตร และบริหารธุรกิจ ณ ห้องประชุมกาสะลอง อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

           ดร.ซาราห์ เทย์เลอร์ เอกอัครราชทูตแคนาดาประจำประเทศไทย กล่าวว่า การได้มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมมหาวิทยาลัยในครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะได้สร้างเครือข่ายความร่วมมือ ความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นสถานศึกษาที่มีความหลากหลาย มีวิทยาเขตในหลายจังหวัด ในความสนใจที่เข้ามาในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีแล้ว ตนเองยังมีความสนใจที่จะทำเรื่องเทคโนโลยีสะอาด พลังงานทดแทน ระบบรางรถไฟฟ้า และ Smart Farming ยากส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อไป ยกตัวอย่างบริษัทในประเทศแคนาดามีบริษัทที่ประกอบธุรกิจด้านนี้ เช่น ธุรกิจแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากหากได้ร่วมกันกับทางมหาวิทยาลัยก็ก่อให้เกิดประโยชน์เป็นอย่างมาก”

             ส่วนผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทนอธิการบดีกล่าวเสริมว่า “เมื่อย้อนไปกว่าสิบปีที่แล้วเมื่อครั้งยังเป็นสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลและ มทร.ล้านนา ยังเป็นวิทยาเขตของสถาบันนั้น มีโครงการซึ่งได้คัดเลือกตัวแทนอาจารย์ ไปศึกษาเรียนรู้ที่ประเทษแคนาดาและได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการ เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อนำกลับมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน จวบจนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แยกออกมาเป็น มหาวิทยาลัย 9 แห่งทั่วประเทศที่มีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันออกไป ในส่วนของ มทร.ล้านนา นั้นเราจัดการเรียนใน 6 พื้นที่ 4 คณะ ซึ่งนอกจากความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมที่ประเทศแคนาดาสนใจแล้ว เรายังมีความเก่งในด้านศิลปะและด้านบริหารธุรกิจหากสามารถสร้างความร่วมมือด้านวิชาการได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากแก่อาจารย์และนักศึกษาของ มทร.ล้านนา”







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา