เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 18 พฤศจิกายน 2564 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน
ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน กสศ. ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังเสวนาออนไลน์ Little Big Communities Talks EP.1 ในหัวข้อ “เปลี่ยนกรอบคิด ชีวิตไม่ติด(กรอบ) การเรียนรู้ของผู้ไม่(ด้อย)โอกาส” งานเสวนาออนไลน์เปลี่ยนกรอบคิด ชีวิตไม่ติด(กรอบ) การเรียนรู้ของผู้ไม่(ด้อย)โอกาส ในวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00 – 12.00 น. ผ่านระบบ zoom
จากตัวแทนของคนทำงานจริงในพื้นที่ ที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กับแนวคิด วิธีการ การหนุนเสริมศักยภาพของกลุ่มคนเหล่านี้ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พบกับตัวแทนหน่วยพัฒนาอาชีพ และผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราว อาทิ
• เรียนรู้อาชีพ…เพื่อชีวิตใหม่พ่อแม่วัยรุ่น คุณสุดาพร นาคฟัก กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่
• ‘น้ำผึ้งมะนาวเปลี่ยนชีวิต’ คุณสุพิชญาณัฐ ทยาพลิศวงศ์ ตัวแทนเยาวชน กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่
• ‘โอกาส’ ของคนหลังกำแพง อาจารย์พัชรนันท์ วงค์พนัสสัก วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภูและแขกรับเชิญพิเศษอีกหนึ่งท่านที่มาถ่ายทอดเรื่องราว
• ‘น่านโมเดล’ หนึ่งรูปแบบการแก้ปัญหาเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสติปัญญา คุณปวีณา ตันเสนีย์ โครงการประสานงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: พื้นที่จังหวัดน่าน ลำปาง ตาก
สำหรับงานเสวนาออนไลน์ในช่วงที่สอง เรื่อง ‘เรียนรู้นอกกรอบ(คิด)’ ได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ และผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิด อาทิ
• แค่เปลี่ยนความคิด...ชีวิตก็เปลี่ยน คุณเกษราภรณ์ หลวงจันทร์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ล้อไม้เฟอร์นิเจอร์ จังหวัดขอนแก่น
• ส่งต่อ ‘โอกาส’ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้บริหารบริษัท กล่องดินสอ จำกัด
• ‘การศึกษาทางเลือก’ ทางออกของการพัฒนาเยาวชนนอกระบบ ดร.เนตรดาว ยั่งยุบล ผู้ประสานงานเครือข่ายการทำงานเด็กนอกระบบการศึกษา 41 เครือข่าย กสศ.
• ห้องเรียนชุมชน...กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้จัดการโครงการทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน (กสศ.)
สำหรับผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนาออนไลน์ระบบ zoom สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 น. คลิก Link : shorturl.at/csOST หรือ Scan QR code ในโปสเตอร์
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา