โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จับมือภาคีเครือข่าย จัดแข่งขัน โอลิมปิกหุ่นยนต์เฟ้นหาสุดยอดเยาวชนตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์นานาชาติที่ประเทศฮังการี | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา จับมือภาคีเครือข่าย จัดแข่งขัน โอลิมปิกหุ่นยนต์เฟ้นหาสุดยอดเยาวชนตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์นานาชาติที่ประเทศฮังการี

เผยแพร่เมื่อ : อาทิตย์ 23 มิถุนายน 2562 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล(มทร.)ล้านนา ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(อพวช.) สถาบันการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)และบริษัทแกมมาโก้(ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ ระดับนานาชาติ (World Robot Olympiad :WRO 2019) รอบชิงชนะเลิศระดับภูมิภาคเหนือภายใต้หัวข้อ SMART CITIES เพื่อเฟ้นหาตัวแทนเยาวชนไทย ไปร่วมการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WRO ระดับนานาชาติ ณ เมืองเยอร์ ประเทศฮังการี โดยได้รับเกียรติจากนายมนัส ขันใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ มาเป็นประธานในพิธีเปิดในโอกาสนี้ รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งแบ่งการแข่งขันออกเป็น 3 รุ่น ดังนี้ รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั่งสิ้น 20 ทีม รุ่นอายุไม่เกิน 15  ปี มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั่งสิ้น 28 ทีมและรุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี มีทีมเข้าร่วมการแข่งขันทั่งสิ้น 32 ทีม รวมทั้งสิ้น จำนวน 80 ทีม จัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ ณ เชียงใหม่ฮอลล์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า เชียงใหม่ แอร์พอร์ต วันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2562

 

สำหรับเวทีการแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ (World Robot Olympiad) เป็นเวทีการแข่งขันที่เปิดโอกาสให้เยาวชนทั้งระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา ระดับอุดมศึกษา ได้มีเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจให้กับเยาวชน รวมถึงบุคคลทั่วไป ที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ และการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชน ส่งเสริมให้เกิดความรู้ในการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะของเยาวชน รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และรู้จักค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ต่อไปในอนาคตเตรียมความพร้อม สู่ศตวรรษแห่งวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีการจัดการแข่งขันใน 4 ภูมิภาคเพื่อคัดเลือกตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-8  กันยายน 2562 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เพื่อคัดเลือกสุดยอดเยาวชนตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโอลิมปิกหุ่นยนต์ WRO ระดับนานาชาติที่เมืองเยอร์ ประเทศฮังการี โดยมีผลการแข่งขันในแต่ละประเภท ดังนื้

รุ่นอายุไม่เกิน 12 ปี

  • ชนะเลิศอันดับ 1 ทีม RoboMind ZPHY จาก Robomind Learning center เชียงใหม่

คะแนนที่ได้ 165 คะแนน ทำเวลาได้ 44.87 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 5,000 บาท

  • ชนะเลิศอันดับ  2 ทีม RoboMind TBX จาก Robomind Learning center เชียงใหม่

คะแนนที่ได้ 165 คะแนน ทำเวลาได้ 45.43 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 3,000 บาท

  • ชนะเลิศอันดับ 3 ทีม OPB จาก Rebomind Meechok เชียงใหม่  คะแนนที่ได้ 165 คะแนน ทำเวลาได้51.31 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 2,000 บาท

รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี

  • ชนะเลิศอันดับ 1 ทีม ACL01  จาก โรงเรียนอัสสัมชัญ ลำปาง ด้วยคะแนน 185 คะแนน เวลา 107.5 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 5,000 บาท
  • ชนะเลิศอันดับ 2 ทีม ACL02 จาก โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง ด้วยคะแนน 180 คะแนน เวลา 113.81 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 3,000 บาท
  • ชนะเลิศอันดับ 3 ทีม NP Robot จากโรงเรียนบ้านน้ำแพร่ จ.เชียงใหม่ คะแนน 160 คะแนน เวลา 114.54 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 2,000 บาท

รุ่นอายุไม่เกิน 19 ปี

  • ชนะเลิศอันดับ 1 ทีม Chakkhams1 โรงเรียนจักรคำคณาธร จ.ลำพูน คะแนน 200 คะแนน เวลา 86.34 วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 5,000 บาท
  • ชนะเลิศอันดับ 2 ทีม JCs1จาก JC Robot Family Lumphun ด้วยคะแนน 200 คะแนน เวลา 91.53 วินาทีได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 3,000 บาท
  • ชนะเลิศอันดับ 3 ทีม Chakkhams2 โรงเรียนจักรคำคณาธร ลำพูน ด้วยคะแนน 200 คะแนน เวลา 96.04วินาที ได้รับโล่รางวัลพร้อมประกาศนียบัตรและทุนการศึกษา 2,000 บาท

ซึ่งทุกทีมจะได้รับสิทธิ์การเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย ระหว่างวันที่ 6-8  กันยายน 2562 ณ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ชมประมวลภาพ https://www.facebook.com/pg/มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา