โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา พร้อมขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์เชิงรุกร่วมเสนอแผนจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ระดับจังหวัด ของจังหวัดเชียงใหม่ สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20  ปี    | กองการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา พร้อมขับเคลื่อนการประชาสัมพันธ์เชิงรุกร่วมเสนอแผนจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ระดับจังหวัด ของจังหวัดเชียงใหม่ สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 24 ธันวาคม 2567 โดย อภิญญา พูลทรัพย์ จำนวนผู้เข้าชม 2 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

         วันที่ 23  ธันวาคม 2567  อาจารย์อัคค์สัจจา ดวงสุภาสิญจ์ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์  พร้อมด้วย นายนริศ กำแพงแก้ว  ผู้อำนวยการกองประชาสัมพันธ์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เข้าร่วมการประชุมเครือข่ายประชาสัมพันธ์เพื่อพัฒนาแนวทางการประชาสัมพันธ์ในการจัดทำ (ร่าง) แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ระดับจังหวัด ของจังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ โดยมีนางกรพรรณ ประสพจันทร์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติระดับจังหวัด (จังหวัดเชียงใหม่)เป็นประธานการประชุม เพื่อพัฒนาแนวทางและสร้างเครือข่ายการประชาสัมพันธ์ในระดับพื้นที่ ขับเคลื่อน การสื่อสารให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งประเทศ ผ่านเรื่องสื่อสารที่สำคัญทั้งในและต่างประเทศ โดยมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีจังหวัด เข้าร่วมประชุม

             ในโอกาสนี้  นายนริศ กำแพงแก้ว ผู้อำนวยกองประชาสัมพันธ์ ได้นำเสนอแนวทางการการขับเคลื่อนกิจกรรมตามนโยบายและแผนการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ไปสู่การปฏิบัติในระดับจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ด้วยเรื่องสื่อสารที่สำคัญประจำปี 2568 จำนวน 5 มิติได้แก่ 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านสังคมคุณภาพชีวิตทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 3. ด้านความมั่นคง  4. ด้านการบริหารงานภาครัฐ 5. ด้านซอฟต์พาวเวอร์  โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ในฐานะสถาบันการศึกษาของจังหวัดเชียงใหม่ มีการขับเคลื่อนกิจกรรมที่สอดคล้องปประเด็นการสื่อสารสำคัญในมิติทั้ง5  ด้านในรูปแบบของกิจกรรมผลงาน และการบริการวิชาการ อาทิ การดำเนินโครงการส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อต่อยอดสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ของมหาวิทยลัยภายในแนวคิด กินได้ ใช้ได้ ขายได้ อยู่ได้  การพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้นและช่วยแก้ไขปัญหาสังคมชุมชน เช่น การพัฒนาเซนเซอร์ตรวจจับความร้อนเพื่อป้องกันไฟป่า ลดปัญหาการเกิดหมอกควันและฝุ่น pm 2.5  รวมถึงการพัฒนาเครื่องตรวจวัดค่าฝุ่น pm 2.5  การพัฒนาเครื่องตรวจสอบมาตรฐานหน้ากากอนามัย เป็นต้น และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤติ ของจังหวัดและประเทศ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายที่สอดรับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และจพผลักดันเข้าสู่แผนปฏิบัติการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ ระดับจังหวัด ของจังหวัดเชียงใหม่ ต่อไป

 





ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา