โลโก้เว็บไซต์ หลักสูตรประมงราชมงคลพิษณุโลก สร้างฝายและแนวกันไฟ สืบสานพระราชปณิธานของพระราชา | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

หลักสูตรประมงราชมงคลพิษณุโลก สร้างฝายและแนวกันไฟ สืบสานพระราชปณิธานของพระราชา

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 13 กุมภาพันธ์ 2561 โดย นางปภาดา พลอยอิ่ม จำนวนผู้เข้าชม 2802 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ฤดูแล้งกำลังเข้ามาเยือน ป่าไม้และสัตว์ป่า ต้องพึ่งพาอาศัยธรรมชาติด้วยกันทั้งสิ้น มนุษย์เราก็เช่นกัน จะอยู่บนโลกใบนี้ได้อย่างสงบสุขร่มเย็น ก็ต้องมีทรัพยากรธรรมชาติที่เพียงพอและเกิดการสมดุลอย่างยั่งยืน  ประกอบกับในช่วงฤดูนี้ สามารถเข้าป่าสร้างฝายชะลอน้ำได้ง่าย สะดวก เนื่องจากไม่มีฝน และน้ำมารบกวนมากนัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์จารวี เลิกสายเพ็ง หัวหน้าหลักสูตรประมง พร้อมด้วย อาจารย์สุภภณ พลอยอิ่ม นำทีมนักศึกษาจิตอาสาหลักสูตรประมง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ระดับชั้นปีที่ 2 , 3 และ 4  จำนวนกว่า 40  คน  ทำกิจกรรมการสร้างฝายชะลอน้ำ (Check Dam)  ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าพิษณุโลก หมู่ 1 บ้านวังดินสอ  ตำบลวังนกแอ่น  อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 

                กิจกรรมดังกล่าว ได้รับความอนุเคราะห์จาก นางสาวจุฬาภรณ์ ขุนแสน  หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่ อย่างดียิ่ง ในการในคำแนะนำและฝึกสอนนักศึกษา ได้เรียนรู้วิธีการทำฝายชะลอน้ำ โดยใช้วัสดุที่หาได้จากธรรมชาติ เริ่มจากการตีไม้และปักเสาไม้ไผ่ระบุตำแหน่งที่จะกั้นน้ำ  จากนั้นใช้กระสอบทรายวางเรียงเป็นฝาย และ นำหินมาวางเรียงตัวกันเป็นแนวฝาย จนสามารถกั้นและชะลอน้ำได้   นอกจากนี้  ได้ร่วมกันทำกิจกรรมสร้างแนวกันไฟในพื้นที่ป่าเบญจพรรณ ( Mixed deciduous forest ) จำนวนกว่า 20 ไร่  เพื่อเป็นการหยุดยั้งไฟป่า ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและจากฝีมือมนุษย์

          หลักสูตรประมง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก  มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้ดำเนินงานสืบสานพระราชปณิธานของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร  เรื่องการทำ “ฝาย” เพื่อร่วมกันฟื้นฟูป่า หยุดไฟป่า สร้างความหลากหลายทางชีวภาพให้กับระบบนิเวศ รวมทั้งเป็นแหล่งส่งน้ำให้กับเกษตรกร กิจกรรมครั้งนี้ นักศึกษาได้เรียนรู้และภาคภูมิใจที่มีส่วนช่วยในการสร้างสรรค์พื้นที่ป่าให้เกิดความยั่งยืน ส่งผลให้ป่าได้ประโยชน์จากความชุ่มชื่นที่ยาวนาน  สัตว์ป่ามีแหล่งน้ำไว้กินยามช่วงฤดูแล้ง  คน ชุมชน ได้อาศัยทรัพยากรธรรมชาติร่วมกัน.

 

ภาพ/ข่าว - ปภาดา พลอยอิ่ม







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา