โลโก้เว็บไซต์ RDi นำทีมนักวิจัยจัดแสดงผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในบูธนิทรรศการ Show & Share [Reinventing University 2024] ในงาน 10th CRCI & Innovation EXPO 2024 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

RDi นำทีมนักวิจัยจัดแสดงผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในบูธนิทรรศการ Show & Share [Reinventing University 2024] ในงาน 10th CRCI & Innovation EXPO 2024

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 6 สิงหาคม 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

วันที่ 5 สิงหาคม 2567 สถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมนักวิจัย จากคณะ และพื้นที่ นำผลงานจัดแสดง ในรูปแบบ โมเดล 3 มิติ และผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ใน "กิจกรรม SHOW & SHARE" ส่งเสริมผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ในงาน CRCI 2024 & Innovation Expo ระหว่างวันที่ 5-6 สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จังหวัดเชียงใหม่

 

#เครื่องมือแพทย์

กายอุปกรณ์ช่วยรับประทานอาหารสำหรับผู้พิการทางการเคลื่อนไหว  

(ผศ.ดร.ภาคภูมิ จารุภูมิ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา)

** ผลงานจดทะเบียนสิทธิบัตร **

 

 

#อุตสาหกรรม / #เทคโนโลยี

เครื่องคั่วพริกแบบกึ่งอัตโนมัติ 

(ผศ.ดร.วิโรจน์ ปงลังกา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงราย)

** ผลงานจดทะเบียนสิทธิบัตร **

 

 

ระบบ ควบคุมการ ชาร์จ อีวีไบร์ท ด้วยเทคโนโลยี IoTโดยชำระเงินผ่านระบบ epayment 

(อ.หิรัญกฤษฎิ์ โลตุรัตน์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงราย)

 

 

เตาอบพลังงานไฮบริด 

(รศ.ดร.พินิจ เนื่องภิรมย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา)

** ผลงานจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร **

 

 

นวัตกรรม AIoT สำหรับเพาะกล้ากัญชง 

(ผศ.ระบิน ปาลี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา)

** ผลงาน ยื่นคำขอจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร **

 

 

การศึกษาและออกแบบระบบบำบัดกลิ่นเหม็นรบกวนในฟาร์มไก่แบบชีวภาพ

(นายครรชิต เงินคำคง คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา)

** ผลงานจดทะเบียนอนุสิทธิบัตร **

 

การพัฒนาแผ่นให้ความเย็นจากเปลือกไข่

(ผศ.ดร.ณัฐชัย เที่ยงบูรณธรรม สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเกษตร ลำปาง)

** ผลงานอยู่ระหว่างจดทะเบียนขอรับความคุ้มครอง**

 

 

การเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ดูแลผิวจากถ่านขาวและเชื้อเพลิงชีวภาพ

ด้วยเตาคู่ควบระบบให้ความร้อนแบบแก๊สซิฟิเคชั่น และควบคุมระบบป้อนอากาศด้วย IoT 

(ผศ.ดร.กันยาพร ไชยวงศ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา น่าน)

** ผลงานอยู่ระหว่างจดทะเบียนขอรับความคุ้มครอง **

 

 

ระบบตรวจสอบใบแอนแทรคโนสและใบราแป้งของมะม่วงโดยกระบวนการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning)

ผ่านระบบตอบโต้ข้อความอัตโนมัติ 

(อ.สุทธิศักดิ์ สุขัมศรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา ตาก)

** ผลงานอยู่ระหว่างจดทะเบียนขอรับความคุ้มครอง **

 

 

#งานคราฟ

เคลือบศิลาดล (ผศ.ดร.นพวรรณ เดชบุญ คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา)

 

 

#ผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากใบเมี่ยง (อ.วิภาดา ญานสาร คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา)

 

 

 

กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย

  • 1. การจัดแสดงผลงาน Show & Share : ส่งเสริมผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์
  • 2. กิจกรรมให้คำปรึกษาเรื่องการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา
  • 3. กิจกรรม Matching Business สำหรับนักวิจัยและผู้ประกอบการ

การจัดงานภายใต้กิจกรรมที่ 7 ส่งเสริมผลงานวิจัย ไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เป็นกิจกรรมที่มุ่งเน้นให้นำผลงานวิจัย องค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ทั้งที่ได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมสู่การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ สำหรับอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์ของกิจกรรม เพื่อส่งเสริมการนำผลงานวิจัย องค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย ไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์มากยิ่งขึ้น









ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา