โลโก้เว็บไซต์ มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมถวายเทียน สืบสานประเพณีอันดีงามในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 2563 | กองบริหารทรัพยากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก

มทร.ล้านนา จัดกิจกรรมถวายเทียน สืบสานประเพณีอันดีงามในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา 2563

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 3 กรกฎาคม 2563 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 1 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

    วันที่ 3 กรกฎาคม 2563  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จัดกิจกรรมสืบสานประเพณีถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2563 โดย ผศ.เกรียงไกร ธารพรศรี ผู้อำนวยการสถาบันถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน เป็นประธานฝ่ายฆราวาส นำคณะผู้บริการหาร และบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ถวายเทียนพรรษาพร้อมจตุปัจจัย เครื่องไทยทาน ณ วัดโชติกุนสุวรรณาราม (วัดหมูบุ่น) จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีพระอาจารย์มงคล ชยธมฺโม รองเจ้าอาวาสวัดโชติกุนสุวรรณาราม (วัดหมูบุ่น)  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ สำหรับกิจกรรมการถวายเทียนในเทศกาลเข้าพรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพี่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้ร่วมกันสืบสาน รักษาประเพณีอันดีงามทางพุทธศาสนาให้คงอยู่สืบไป      

   การถวายเทียนช่วงเทศกาลเข้าพรรษานั้น มีความจำเป็นอย่างมากเนื่องจากอดีตกาล  การเดินทางจาริกแสวงบุญ เผยแพร่ศาสนายังสถานที่ต่างๆ ในช่วงฤดูฝนของพระภิกษุนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบาก บางครั้งอาจสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่ทำการเกษตรของชาวบ้าน อีกทั้งยังสร้างความสูญเสียแก่ชีวิตสัตว์ที่ออกหากิน พระพุทธเจ้าจึงบัญญัติให้พระสงฆ์อยู่จำพรรษาที่วัด เป็นระยะเวลา 3 เดือน หรืออาจพูดเป็นภาษาทั่วไปว่า จำพรรษา (พรรษา แปลว่า ฤดูฝน , จำ แปลว่า พักอยู่) จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และจะสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา ด้วยเหตุนี้ชาวพุทธจึงนิยมถวายเทียนในวันเข้าพรรษาเพื่อให้พระสงฆ์จุดบูชาพระรัตนตรัยและจุดเพื่อเป็นแสงสว่างในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย แต่ปัจจุบันเทียนพรรษามีความสำคัญลดน้อยลง จึงได้มีการปรับเปลี่ยนมาเป็นการถวายหลอดไฟฟ้า ถ่านไฟฉาย เพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยและการใช้งาน  ซึ่งชาวพุทธยังเชื่อกันว่า การถวายเทียน หรือสิ่งที่ให้แสงสว่าง จะส่งผลถึงความสว่างไสวในชีวิต ทั้งสติปัญญาและการดำเนินชีวิตให้ราบรื่น







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา