เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 29 มีนาคม 2567 โดย ณิชกมล โพธิ์แก้ว จำนวนผู้เข้าชม 778 คน
วันที่ 28 มีนาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.อุเทน คำน่าน รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาระบบอย่างยั่งยืน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานพิธีเปิด "กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพบุคลากร" (Grooming 1 : Idea & Tools) ภายใต้โครงการ “โครงการยกระดับและเพิ่มขีดความสามารถด้านวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยกระบวนการบูรณาการการเรียนการสอนร่วมกับงานวิจัยและบริการวิชาการสำหรับบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน รุ่นใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” ประจำปี 2567 ในระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม 2567 ณ โรงแรมไอบีส สไตล์ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ พัฒนากำลังคนของมหาวิทยาลัย กลุ่มเป้าหมาย คือ บุคลากรบรรจุใหม่ ทั้งสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาโครงการวิจัย ดำเนินงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ตอบโจทย์ความท้าทายของสังคม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนถึงการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อให้เกิดเป็นพลังในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท และนโยบายของรัฐบาล กิจกรรมในครั้งนี้ มีบุคลากรสายวิชาการ และสายสนับสนุนเข้าร่วมกว่า 80 คน
Grooming : Idea
1 Idea : รายละเอียดกรอบทุนวิจัยพื้นฐาน Fundamental Fund ประจำปีงบประมาณ 2569 (FF’69)
2-Idea : กระบวนการรับ การประเมินข้อเสนอโครงการเบื้องต้น
และแบบฟอร์ม ข้อเสนอโครงการวิจัย Fundamental Fund
ประจำปีงบประมาณ 2569 (FF’69)
3-Idea : แบ่งกลุ่มออกแบบการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย
Grooming : Tool
4-Tool : กระบวนการและเทคนิคการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ ทัศนอุดม ผู้ช่วยอธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสู่การนำไปใช้ประโยชน์ อีกทั้ง มีประสบการณ์ในการต่อยอดงานวิจัยและนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์
NAS Grooming [ริเริ่ม] [เติม-เต็ม] นำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยและนวัตกรรม ไปสร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเสริมพลัง ในการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น พื้นที่ หรือผลักดันไปสู่นโยบายที่ก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยนวัตกรรมแห่งล้านนา ที่ตอบสนองความต้องการของสังคมในพื้นที่ ด้วยงานวิจัย นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์และงานสร้างสรรค์
- มีการนำผลงานที่เกิดจากการวิจัยและนวัตกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์ใหม่ การพัฒนาหรือการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต และการบริการ ไปใช้ประโยชน์ในการผลิตเชิงพาณิชย์ เกิดการลงทุนใหม่ เกิดการจ้างงานเพิ่ม หรือลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ หรือนำไปสู่การพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ ที่ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่ม และเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตและบริการ หรืออาจเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายที่นำไปสู่มาตรการที่สร้างมูลค่าเชิงเศรษฐกิจให้กับประเทศ
- เกิดการขยายเครือข่ายภาคีความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ
#มหาวิทยาลัยนวัตกรรมแห่งล้านนาที่ตอบสนองความต้องการของสังคมในพื้นที่ด้วยงานวิจัยนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และงานสร้างสรรค์
คลังรูปภาพ : Grooming 1
ที่มา : Grooming 1 : Idea & Tools
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา